วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

โบสถ์ Saint Peter's Church New York ที่ออกแบบโดย Massimo Vignelli



Saint Peter's Church New York 1977
ขั้นตอนการตกแต่งภายในของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ ต้องการระดับความยืดหยุ่นสูง นอกจากความธรรมดา บทบาทหน้าในพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว
โบสถ์ยังเป็นห้องโถงแสดงดนตรี, โรงละคร, และห้องประชุม
ลำดุบขั้นตอนรวมไปถึงที่นั่งในโบสถ์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และได้ถูกออกแบบมาเพื่อเพิ่มที่นั่ง เวทีต่างๆสามารถปรับแต่งให้เข้ากับความต้องการ
ที่แตกต่างกันในเหตุการณ์ต่างๆ



พวกเราออกแบบระบบเสียงและติดตั้งไว้ที่มุมเพื่อที่จะขยายอคูสติก ในทางกลับกันเสียงแกรนิตก็ตกลงมาที่อ่างนำ้มนต์
พวกเรายังออกแบบเฟอร์นิเจอร์, แท่นบูชา, เครื่องตกแต่งสีเงินสำหรับโบสถ์ รวมไปถึงสัญลักษณ์และการประกาศ
โบสถ์เซนต์ปีเตอร์เป็นประสบการณ์หนึ่งเดียว ที่ความคิดในการออกแบบสถานที่ถูกคิดว่าไม่ใช่โบสถ์ธรรมดาๆ แต่เป็นที่ว่างที่บริสุทธิ์สำหรับ
พิธีหลากหลาย



โบสถ์เซนต์ปีเตอร์เป็นแถลงการณ์ทางสถาปัตยกรรมที่กล้าหาญของความมั่นใจของคริสเตียนในอนาคตของเมืองนี้ เป็นแรงผลักดันไปยังความมั่งคั่งที่น่าดึงดูดใจของถนนปารค์ และเสียงเพี้ยนของถนน เลซิงตัน ถูกออกแบบโดย ฮิว สตับบิ้น และเพื่อน รูปร่างภายนอกของมันเป็น ภาพลักษณ์การพิมพ์ของใหม่ และการอยู่รอดของสังคมเมือง ตึกเป็นสมอของความรู้สึกสงบ ใน- แต่ไม่สามารถถอดถอนได้ จาก - ทะเลที่หมุนอย่างพยากรณ์
ไม่ได้รอบๆตัวพวกเรา
การวาดภาพบนประเพณีอันยาวนานของชาวคริสเตียนและสิ่งที่ตกทอดมาของ ลูเทอรัน จุดประสงค์หลักของโบสถ์นี้ คือให้การบูชาพระเจ้าเป็นไปได้หลากหลายรูปแบบ เราถือการบูชากว้างๆของความพยายามที่ซึ่งปลการยกระดับและความเชื่อให้เป็นการกระทำ
การตกแต่งภายในถูกออกแบบโดย วิกแนลลี่ เชื้อเชิญพวกเราทั้งล่างและบน วางตำแหน่งพวกเราในความแตกต่างในโลก แต่เหนือขึ้นไปปกป้อง ในขณะที่เผชิญกับแสงมนุษย์ ในขณะที่ใหญ่โตและสูงขึ้นด้วยตวามรู้สึกของทั้งจักรวาลและแหล่งกำเนิด-แหล่งกำเนิดของการกลับมาอีกครั้ง
มันเป็นสถานที่ของการกลับมามีชีวิตใหม่ ที่ซึ่งพวกเราเกิดในดวงวิญญาณดวงใหม่ เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นเหมือนถำ้มืดของเงาสะท้อน กำลังยำ้เตือนให้พวกเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เซนต์ปีเตอร์เรียกพวกเรากลับไปสู่สถานที่รุ่งโรจน์อันศักดิ์สิทธิ์ของความรักของพระเจ้า
การตกแต่งพื้นภายนอกอีกทั้งภายใน และอ่นำ้มนต์ทำมาจากหินแกรนิต คาเลโดเนีย การตกแต่งภายเป็นแบบพื้นที่ที่ปับเปลี่ยนได้ตามความหลากหลายของงานฝีมือ ไปยังเพลง, เต้น, เทศน์, ดนตรี, และบทกวี เก้าอี้ในโบสถ์, แถ่นบูชา ทำมาจากต้นโอ๊คแดง อ่งนำ้มนต์ตรงทางเข้าไปถึงสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งภาพและเสียงของการอาลัย นำ้วิ่งเป็นเครื่องเตือนที่แน่นนอนของพิธีพรมนำ้และล้างบาปของพวกเราโดยพระผู้เป็นเจ้า



ไม้กางเขนชาวดัสท์ ตั้งอยู่ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทำขึ้นโดยเหล็กจากศตวรรษที่ 16 และน่าจะอยู่เหนือม่านของแท่นบูชาในโบสถ์ในประเทศเนเธอร์แลนด์
เป็นตราดอกไอรัส ( ที่แสดงถึงพระบิดา พระบุตร และพระจิตวิญญาณ ) ไม้กางเขนเตือนพวกเราว่า ความลี้ลับในภายหน้ากับความหลังไปยังชีวิตในนิรันดร์
เสื้อคอสซอลถูกสร้างขึ้นสำหรับเซนต์ปีเตอร์โดยช่างทอชาวอเมริกัน แอน เชอร์แมน บรูมเบริ์ก และถูกใช้ในการขึ้นสวรรค์ของพระเยซูคริสต์ ผ้าทอมือผืนนี้อยู่บนกำแพงทางทิศตะวันออกของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งให้ความรู้สึกดึงความอบอุ่นของไม้กางเขนดัสท์ การขึ้นสรวงสวรรค์ของพระเยซูยังคงทอดสายตาเหนือขึ้นไปมองไปอย่างกว้างใหญ่ไพรศาล


เครื่องขยายเสียงสร้างโดย โจฮันเนส โคส ประเทศเยอรมันถูกออกแบบเป็นงานศิลปะแบบการมองเห็น และโทนเสียงเพื่อให้เหมาะสมกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ไม้กางเขนถูกสร้างขึ้นโดย ช่างฝีมืออายุน้อยชาวอเมริกัน ชื่อ กิกิ สมิธ และส่วนอื่นๆโดย วิกเนลลี่ งานของกิกิเป็นผลงานของความเยี่ยมยอดของความเงียบขรึมร่างของพระเยซูลอยอยู่ท่ามกลางการถูกทิ่มแทงบนไม้กางเขน มันถูกใช้ในการแห่ในช่วงการมาถึงของการสำนึกผิดและฤดูถือบวชอีกทั้งโอกาสอื่นๆที่เหมาะสม ไม้กางเขนของวิกเนลลี่ ดูหรูหราในความเรียบง่าย มันทำมาจากต้นโอ๊คแดง และนำมาตกแต่งภายในโบสถ์
การปั้นแก้วเปอเซียนสีน้ำเงินและแดงถูกทำขึ้นโดยนักเป่าแก้วที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งของศควรรษที่ 20 เดล ชิีฮิลลี่
ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ที่แหวกแนวจากการเป่าแก้วธรรมดาสำหรับเขาเองมันเป็นขั้นตอนที่ยังคงเป็นกลอุบายที่มากกว่าวัตถุดิบ เขากล่าวด้วยความประหลาดใจว่า เขาเคยคิดว่ามันเป็นแก้วที่มีความลี้ลับมากมาย และหลังจากนั้นผมดันพบว่า มันเป็นอากาศที่เข้าไป มันช่างน่าอัศจรรย์จริงๆ



การตกแต่งภายนอกไม้กางเขนถูกออกแบบโดยช่างแกะสลักที่มีชื่อเสียงคือ อาร์นัลโด โปโมโดโล ของมิลาน อิตาลี การแกะคนโปโมโดโล
ได้เชื่อมโยงความเก่ากับความใหม่เข้ากับการผสมอย่างมีลายแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ของวัตถุดิบ
ไม้กางเขนของบรรพบุรุษเป็นสีเงิน มันถูกเจาะตรงกลางเป็นรูปลิ่ม หรือตะปู ซึ้งแตกต่างจากไม้กางเขนแบบธรรมดา ตะปูเป็นยุคเดียวกันกับโปแลนด์ ร่างของพระเยซูกับอุปกรณ์ การตรึงกางเขนของพระเยซุของการทำงานบนพื้นผิวไม้กางเขน

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Massimo Vignelli 2



จากประโยคด้านบน ซึ่งเป็นหลักในการออกแบบทั้ง 3 ข้อหลักๆที่ Massimo ใช้ในการออกแบบงานเกือบทุกๆชิ้นของเขา
ได้แยกย่อย ออกมา คล้ายๆลักษณะ ดังนี้

Semantically - ความมีเหตุมีผล มีประสิทธิภาพ
Pragmatically - การจัการกับสิ่งต่างๆอย่างละเอียดละออโดยมีพื้นฐานอยู่บนการปฎิบัติได้จริง
มากกว่าที่จะอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎี
Syntactically - การเรียบเรียงหรือเรียงร้อยประโยค อย่างมีระบบและถูกกฎไวยากรณ์

นั่นคือ Massimo Vignelli มีหลักการที่เขายึดถือคือความเป็นระบบระเบียบ ความเรียบง่าย และ รูปทรงที่เป็นมาตรฐาน
หลักการคิดของ Massimo จะอิงพื้นฐานของรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก เพราะรูปทรงเรขาคณิตเป็นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความ
สมบูรณ์แบบของทุกสิ่งทุกอย่างในการออกแบบ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เป็นสากล ดูแข็งแรง



สามารถสร้างรูปแบบต่อยอดความคิดของทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ให้เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่นงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ของวิกเนลลี่
ซึ่งใช้รูปทรงเลขาคณิตอย่างเห็นได้ชัด เพียงแค่ สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม รูปทรงกระบอก แต่ผ่านการออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้งานดูท้าทาย สมบูรณ์ และแข็งแรงมั่นคง






เห็นได้ชัดว่า Massimo Vignelli ยึดหลักการของเขาและนำมาทำงานอย่างเคร่งครัด จนพัฒนาเป็นชิ้นงานที่ดู
เรียบง่าย ดูดี และ สมบูรณ์ เราจะสามารถเห็นงานที่มีความเป็นระบบระเบียบในตัวเองได้จากเกือบทุกๆงานของเขา
ไม่ว่าจะเป็นงาน Graphic design , Furniture Design หรือ Interior Design ก็จะมีรูปแบบ
ของการทำงานที่มีระบบคล้ายกัน งานจึงมีความเรียบง่าย แต่ เป็นระเบียบ ซึ่งอาจเป็นเพราะพื้นฐานงาน สถาปัต ของเขา
ที่เป็นพื้นฐานที่ถูกปูมาแล้วตั้งแต่วัยเด็กของเขา ก็ได้ ความเป็น สถาปัตในตัวเขา บ่งบอกถึงงานที่เป็นระบบได้ชัดเจน




"ถ้าคุณสามารถออกแบบของสิ่งหนึ่งได้
คุณก็สามารถออกแบบของทุกสิ่งได้เช่นกัน"



ชายผู้นี้ถือเป็นนักออกแบบที่มีชื่อเสียงในอันดับต้นๆในเหล่าบรรดานักออกแบบบรรจุภันฑ์เฟอร์นิเจอร์ สังกัดโชว์รูม วิกเนลลี่แอสโซซิเอท ซึ่งก่อตั้งร่วมกับภรรยาของเขา ก็คือ LELLA VIDNELLI นั่นเอง วิกเนลลี่มีคติประจำใจว่า"ถ้าคุณสามารถออกแบบของสื่งหนึ่งได้ คุณก็สามารถออกแบบของทุกสิ่งได้เช่นกัน".. และนี่ก็สะท้อนให้เห็นถึงผลงานอันกว้างขวางของเขา
"Vignelli ทำงานอย่างแน่วแน่ภายในขอบเขตแห่งธรรมเนียมสมัยใหม่ และเน้นที่ความง่ายโดยการใช้รูปแบบเรขาคณิตพื้นฐานในงานทั้งหมดของเขา"
วิกเนลลี่ เกิดเมื่อปี 1931 ที่มิลาน ประเทศฝรั่งเศส เข้าเรียนที่สถาบันเกี่ยวกับการออกแบบตกแต่งภายในที่สถาบัน The Politecnico di Milano ก่อนจะศึกษาต่อที่ Universita' di Architettura, Veniceในปี 1957-1960 วิกเนลลี่เดินทางไปยังเมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาจากนั้นในปี 1966 จึงเริ่มทำงานให้กับบริษัท Unimark International,ซึ่งถือเป็นหนึ่งในบริษัทออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ออกแบบให้กับสายการบิน American Airlinesนอกจากนี้ วิกเนลลี่ยังเป็นผู้ออกแบบสัญลักษณ์ของระบบรถไฟฟ้าใต้ดินของนิวยอร์ก ซึ่งถือเป็นการสร้างชื่อเสียงในยุคนั้นอีกด้วย หลังจากนั้น วิกเนลลี่และภรรยาจึงได้ร่วมกันก่อตั้ง Vignelli Assocoates ขึ้น
วิกเนลลี่ถือไดว่าเป็นมนุษย์ที่ทำงานออกแบบในหลากหลายสายงาน เรียกได้ว่าทำมันเกือบจะทุกอย่างทั้ง Interior design, Environmental design, Package design, Graphic design, Funiture design และรวมไปถึง Product design ส่วนลูกค้าที่มีชื่อเสียงของวิกเนลลี่ก็อย่างเช่น IBM และ American Airlines โดยต่อมาในปี 1965 วิกเนลลี่ ก็ได้มาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งของบริษัทอย่าง Design Director of Unimark International coporation อีกทั้งวิกเนลลี่ยังดำรงตำแหน่งประธานของ (AGI) alliance graphique and (AIGA) the american institude of graphic arts, a vice president of the arctiectural league, (IDSA) industrial designers society of america ซึ่งถือเป็นบริษัทใหญ่ในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กด้วย
ผลงานของวิกเนลลี่จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยทั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิแตน พิพิธภัณฑ์บรูคลิน และพิพิธภัณฑ์
คูเปอร์-เฮวิท ในเมืองนิวยอร์ก

เมื่อเร็วๆนี้ เขาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับ filmmaker ชื่อ Gary Hustwit ในการออกแบบตัวอักษรHelvetica ซึ่งเป็นแบบอักษรที่โด่งดังแบบหนึ่ง



New York Subway Map, Massimo Vignelli , 1972

แผนที่รถไฟใต้ดินใหม่ของนิวยอร์ค ถือเป็นการวาง graphic ที่มหัศจรรย์มีความเป็นปัจเจกสูง โดยเป็นการเดินทาง
จากจุดหนึ่งเชื่อมต่อไปยังอีกจุดหนึ่งแทนที่ด้วยการใช้สัญลักษณ์ที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งเป็นแผนที่ที่ต่างจากความวุ่นวาย
บนถนนที่ไม่เป็นระบบระเบียบ

การแทนค่าแผนที่มีความหมายในตัวเอง สามารถใช้งานได้จริงแผนที่นี้เป็นการแก้ปัญหาที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก
โดยสามารถเชื่อมต่อทางของบริษัทใหญ่ๆใน New York ที่ขุดอุโมงของตัวเองโดยที่เส้นทางไม่ได้เชื่อมต่อกันเลย
จึงเกิดการแทนค่าเพื่อให้ดูง่าย และ เข้าใจง่าย เป็นการเชื่อมต่อทางความคิดโดยการอธิบายสิ่งที่เข้าใจได้ยาก ให้เกิดเป็นรูปแบบ
ที่เข้าใจได้ง่าย



ในปี 1968 บริษัท Unimark International ได้จัดให้มีการออกแบบระบบแผนที่รถไฟฟ้าใต้ดิน โดยต้องให้อ่านง่าย
และเข้าใจรู้เรื่อง ผู้ออกแบบคือ Massimo Vignelli และ Bob Noorda โดยพัฒนาป้ายสัญลักษณ์ การแทนค่าแบบง่ายๆ
และใช้เพียงการถ่ายทอดข้อมูลที่จำเป็นเท่านั้น เป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบ

Font ที่ใช้ในการออกแบบ เป็น Helvetica Medium จาก Swiss เหตุผลที่ใช้เพราะว่าเป็น Font ที่ไม่มีความหมายในตัวเอง
สามารถนำไปแทนค่าได้หลากหลาย

การออกแบบเริ่มต้นจากการดึงสิ่งรอบๆตัวที่เกิดขึ้นในสถานีมาใช้ อย่างเช่น เส้นกรอบป้ายของตัวอักษรต่างๆ มาใช้ในการ
แทนค่าเป็นเส้นทางแผนที่ โดยรับอิทธิพลมาจาก subway ของ London เพราะแผนที่ subway ของ London เกิดขึ้นก่อนโดยการ
ออกแบบของ Henry Beck ในปี 1933 ใช้จุดวงกลมเป็นสัญลักษณ์แทนสถานีต่างๆ และใช้สีที่บอกเส้นทางช่วยให้ดูง่ายขึ้น
จึงเป็นการแก้ปัญหาการ design ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง



ยังไงก็แล้วแต่ ก็ยังคงมีปัญหาที่เกิดขึ้นเล็กๆน้อยๆ เพราะคนที่ยึดติดกับแผนที่เก่า ซึ่งอิงกับสภาพทางภูมิศาสตร์มากกว่า
จะนำมาเปรียบเทียบกับแผนที่ใหม่ ซึ่งเน้นความสำคัญของสถานที่เพื่อประหยัดพื้นที่ว่างที่ไร้ความจำเป็น การออกแบบนี้ช่วยให้
ประหยัดพื้นที่ของแผนที่ ซึ่งไม่ว่าหน้ากระดาษจะเล็กแค่ไหนก็สามารถแสดงแผนภูมิได้ทั้งหมด

ในปี 1979 แผนที่ของ Massimo Vignelli ถูกเปลี่ยนเป็นสถาณที่ตามสภาพความเป็นจริงด้านภูมิศาสตร์ โดยนักออกแบบชื่อ
Willburn Oconnell แผนที่ของ Massimo จึงถูกเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ในฐานะ แผนที่ที่มีสีสันมากที่สุด แต่ไม่สามารถครอบคลุม
รายละเอียดได้ทั้งหมด



ต้นแบบแผนที่ของ London ออกแบบโดย Henry Beck

รวมบทสัมภาษณ์ส่วนตัวเล็กๆน้อยๆจาก วิกเนลลี่

ถ. ช่วงเวลาใดที่สำคัญที่สุดของวันสำหรับคุณ
ต. เวลาที่ผมเข้านอนพร้อมกับความรู้สึก accomplishment


ถ. คุณฟังเพลงอะไรในช่วงเวลานั้น
ต. ส่วนใหญ่ จะเป็น Baroque
ถ. คุณฟังวิทยุบ้างมั้ย
ต. ฟังสิ ส่วนใหญ่เป็นคลื่นเพลงคลาสสิค หรือไม่ก็จากไอพอทของฉัน
ถ. หนังสืออะไรที่คุณวางไว้ข้างหัวเตียง
ต. ก็เยอะอยู่เหมือนกัน
ถ. คุณอ่านหนังสือจำพวกนิตยสารที่เกี่ยวกับงานออกแบบบ้างหรือปล่าว
ต. เยอะเหมือนกันนะเช่น abitare, domus, architectural record, A+U, eye

ถ. ส่วนใหญ่คุณจะรับฟังข่าวสารจากที่ใด
ต. วิทยุ นิวยอร์กไทม์
ถ. เสื้อผ้าแบบใดที่คุณสวมใส่
ต.ได้ทุกแนวนะ ตามแฟชั่น แฟนซีก็ได้
ถ. คุณมีสัตว์เลี้ยงบ้างหรือป่าว
ต.ไม่มีหรอกแต่ผมชอบนะเพียงแต่ไม่มีเวลาเพราะต้องเดินทางบ่อย
ถ. เมื่อตอนเป็นเด็กคุณเคยฝันอยากเป็นดีไซน์เนอร็บ้างไหม
ต. หลังจากอายุ 14 ผมก็ไม่อยากเป็นอย่างอื่นอีกเลย
ถ. คุณจะชอบทำงานที่ไหน
ต. ที่โต๊ะ จริงๆแล้วที่ไหนก็ได้
ถ. คุณถกปัญหากับนักออกแบบคนอื่นๆบ้างหรือไม่
ต. ผมชอบนะเพราะว่ามันเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน


ผลงานรางวัลที่ Massimo Vignelli ผ่านการประกวด

1964 - Gran Premio Triennale di Milano.
1964 - 1998 Compasso d’Oro, from (ADI), Italian Association for Industrial Design.
1973 - Industrial Arts Medal of the American Institute of Architects (AIA).
1982 - New York Art Directors Club Hall of Fame.
1982 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Parsons School of Design, New York
1983 - AIGA Gold Medal.
1985 - first Presidential Design Award, presented by President Ronald Reagan,
for the National Park Service Publications Program.
1987 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Pratt Institute, Brooklyn, New York
1988 - Interior Design Hall of Fame.
1988 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Rhode Island School of Design, Providence, Rhode Island
1991 - National Arts Club Gold Medal for Design.
1992 - Interior Product Designers Fellowship of Excellence.
1993 - New York State Governor’s Award for Excellence
1994 - Honorary Doctorate in Architecture from the University of Venice, Italy
1994 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Corcoran School of Art, Washington D.C.
1995 - Brooklyn Museum Design Award for Lifetime Achievement.
1996 - Honorary Royal Designer for Industry Award, Royal Society of Arts, London.
2000 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Art Center College of Design, Pasadena, California
2002 - Honorary Doctorate in Fine Arts from Rochester Institute of Technology, Rochester, New York
2003 - National Lifetime Achievement Award from the National Museum of Design at Cooper-Hewitt, New York.
2004 - Visionary Award from the Museum of Art and Design, New York.
2005 - Architecture Award from the American Academy of Arts and Letters, NY.

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

MASSIMO VIGNELL



ฉันชอบดีไซนืที่อธิบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และถูกต้องอย่างเป็นเหตุเป็นผล เป็นเรื่องราว
ที่สามารถเข้าใจได้ ต่อยอดความคิดได้
ฉันชอบอะไรที่เห็นแล้วดูมีพลัง ดูฉลาด
หลักแหลม สง่างาม ไม่มีขอบเขต และเหนือ
ทุกอย่าง อย่างไม่มีวันตกยุค

MASSIMO VIGNELL